วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการออกแบบอัตลักษณ์

กระบวนการออกแบบอัตลักษณ์

ที่มาในการออกแบบสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ที่มา ใช้เป็นแนวความคิดในการออกแบบ สามารถแยกได้ดังนี้
1.  มาจากรูปเคารพ(Idol) หรือเป็นภาพในอุดมคติ (Ideal)
รูปเคารพอาจแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือสัญลักษณ์เนื่องในศาสนาพุทธ กับรูปสัญลักษณ์เนื่องในศาสนาพราหมณ์
2.  จากรูปทรงธรรมชาติ (Nature Form)
มนุษย์คุ้นเคยกับธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อม การกำหนดสัญลักษณ์ตั้งแต่โบราณมักนิยมสัตว์ที่มีพลังอย่างสิงโตถือเป็นเจ้าป่า
3.  จากรูปทรงวัตถุสิ่งของ (Material Form)
การนำเอารูปทรงของสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ยานพาหนะ อาคาร  สิ่งของเครื่องใช้ สินค้า มาเป็นรูปทรงพื้นฐานในการออกแบบ โดยการลดตัดทอนจากรูปทรงที่มนุษย์สร้างสรรค์ไว้ แล้วมาสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในเชิงกราฟิก
4.  จากรูปเรขาคณิต
รูปเรขาคณิต มีความเรียบง่ายและลงตัวอยู่แล้ว เพียงใช้ศิลปะในการจัดองค์ประกอบ การนำเอารูปร่างพื้นฐานง่ายๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม  หกเหลี่ยม วงกลม 2 มิติ และ 3 มิติ มาใช้ ในการออกแบบผสมผสานซ้อนทับกัน
5.  จากตัวอักษร (Lettering Form)
การนำเอาตัวอักษรย่อ  หรือชื่อเต็มของบริษัทหรือชื่อทางการค้าของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นภาษาใด มาออกแบบให้มีลักษณะเฉพาะในตัวเอง วิธีการนี้พบมากในปัจจุบัน
6.  รูปอิสระ(Free Form) และรูปนามธรรม (Abstract Form)
การออกแบบจากรูปลักษณะที่สร้างสรรค์ขึ้น มาจากจินตนาการ  อุดมการณ์ของ บริษัท แนวความคิดเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ แต่จะมีความหมายโดยทางอ้อม และมักจะใช้รูปเรขาคณิตและเส้นลักษณะต่างๆ มาใช้ในการออกแบบเพื่อสื่อความหมายที่เป็นนามธรรม
7.  การใช้รูปร่างและรูปทรงหลายแบบร่วมกัน  บางครั้งการออกแบบต้องการความหมามาก  จึงต้องใช้รูปร่างรูปทรงหลายอย่างเป็นที่มาในการออกแบบ  ใช้รูปสัตว์ร่วมกับตัวอักษร  ใช้รูปคนผสมกับรูปนามธรรม ใช้รูปวัตถุผสมกับรูปเรขาคณิตและตัวอักษร

ขั้นการออกแบบ (Design)
            เมื่อได้แนวความคิด  นักออกแบบจะต้องอาศัยประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์  ออกแบบร่างเล็กๆ  เป็นการออกแบบแนวความคิดแล้วทำการออกแบบร่าง (Sketch) หลายๆ แบบ แล้วนำเสนอบริษัทหรือลูกค้า (บางงานในชั้นนี้ลูกค้าและนักออกแบบอาจตัดสินใจเอง) ประเมินผลงานแก้ไขปรับปรุงแล้วจึงนำแบบที่ได้ไปผลิตเป็นผลงาน

1.  การใช้ตารางกริด (Grids)
Grid หมายถึง  ตารางแบบต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบ ซึ่งวิรุณ  ตั้งเจริญ (2531)  แปลว่า ตาราง
พื้นที่  ตารางกริดถูกนำมาใช้ในการออกแบบหลายประเภท

2.  การเขียนแบบสัญลักษณ์ สามารถเขียนได้ 2 แนวทาง คือ
                 - แนวทางที่เขียนแบบโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งมีโปรแกรมกราฟิกหลายโปรแกรมด้วยกัน
                 - แนวการเขียนแบบสัญลักษณ์โดยใช้เครื่องมือเขียนแบบ มีขั้นตอนดังนี้
                      = ร่างตารางกริดด้วยดินสอดำเกรด H-4H และไม้ฉาก ส่วนที่เป็นเส้นตรงแนวนอนและแนวดิ่ง
                      = ร่างภาพโครงสร้างหลัก โดยจัดเข้ารูปเรขาคณิตส่วนที่เป็นโครงสร้างควรใช้วงเวียนหรือ ถ้ามี ขนาดเล็กควรใช้เทมเพลทช่วย
                      = แบ่งส่วนและร่างส่วนที่เป็นรายละเอียดของสัญลักษณ์
                      = ลงเส้นหนักด้วยดินสอHB เพื่อแนวทางในการลงเส้นด้วยหมึกดำ
                      = เขียนเส้นที่ต้องการด้วยปากกาเขียนแบบ เบอร์ 0.3 หรือ 0.5 
                      = ลงหมึกดำด้วยปากกาเขียนแบบและใช้พู่กัน
            
การทำต้นฉบับสี  มีวิธีการดังนี้
            การร่างแล้วระบายสีโปสเตอร์
            การตัดสติ๊กเกอร์จะได้แบบสัญลักษณ์สีที่คมชัด
            การพิมพ์ซิลสกรีนสี
            การกำหนดสีโดยสั่งสีทางเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วสั่งพิมพ์สีผ่านเครื่องพิมพ์แบบอิงเจตสีหรือเรเซอร์ปริ้นสี
            การถ่ายเอกสารสี

3.  การเลือกใช้ตัวอักษรกับสัญลักษณ์
            รูปแบบ (Type Style)  ของตัวอักษรสัญลักษณ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้า  มักจะกำหนดแบบตัวอักษรเฉพาะไม่เปลี่ยนแปลง  เพื่อความมาตรฐาน  ดังนั้น ตัวอักษรที่จะนำไปใช้กับสัญลักษณ์ใดต้องเลือกใช้ให้เข้ากับบุคลิกลักษณะของสัญลักษณ์ที่ต้องการลักษณะความแข็งแกร่ง ความอ่อนหวาน  ความอิสระ  ความเป็นทางการ  และยังต้องเลือกให้เข้ากับรูปแบบหรือสไตล์ของสัญลักษณ์
            ขนาด (Size) และสัดส่วน (Proportion) ของตัวอักษร ขนาดของตัวอักษรที่ใช้ในการออกแบบสัญลักษณ์ควรจะเป็นขนาดใด  ขึ้นอยู่กับสัญลักษณ์และการนำไปใช้  ตั้งแต่ขนาดเล็กคือ  นามบัตร  ขนาดกลาง คือโฆษณา  ขนาดใหญ่คือป้ายโฆษณาและป้ายหน้าร้านเหล่านี้ยังเกี่ยวข้องกับผู้ชมหรือผู้บริโภคด้วย
            การจัดวาง (Lay out)  ตัวอักษรกับสัญลักษณ์ หมายถึง การออกแบบร่างหรือการออกแบบจัดวางตัวอักษรทั้งที่เป็นชื่อของสัญลักษณ์และข้อความย่อยอื่นๆให้สัมพันธ์  ให้สัมพันธ์กับสัญลักษณ์อย่างเหมาะสม การจัดสัญลักษณ์กับตัวอักษร  แนวการจัดมีดังนี้
                    + แบบเสมอหน้า  คือ  จัดให้ด้านซ้ายเสมอกัน
                    + แบบเสมอหลัง  คือ  จัดให้ด้านขวาเสมอกัน
                    + แบบกึ่งกลาง  คือ  ให้แต่ละบรรทัดออกไปทางซ้ายขวาเท่าๆ กัน
                    + แบบเสมอหน้าหลัง คือ  จัดให้ด้านซ้ายและขวาตรงกัน

ขั้นการนำเสนอสัญลักษณ์
            แบบสัญลักษณ์ที่จะต้องมีในการนำเสนอ คือ
                        1.ข้อมูลเบื้องต้นก่อนเป็นสัญลักษณ์ ประกอบด้วย
                             1.1 แบบรายงานการวิเคราะห์ วิจัย ข้อมูลของบริษัท และข้อมูลของคู่แข่ง
                             1.2 สรุปแนวความคิด (Concept)
                             1.3 แบบร่าง (Sketch)
                          2.  แบบสัญลักษณ์ ประกอบด้วย
                              2.1  แบบสัญลักษณ์ขาวดำที่คมชัด ขนาดใหญ่ประมาณ 3 นิ้ว - 8 นิ้ว
                              2.2  แบบสัญลักษณ์ที่มีรูปแบบขนาดเท่ากับข้อ2.1 แต่เป็นภาพสีเหมือนที่จะ
                                       นำไปใช้จริง
                              2.3  แบบสัญลักษณ์ขาวดำแบบเดียวกับข้อ 2.1 แค่ย่อเล็กขนาดโดยประมาณ
½ นิ้ว 1 นิ้ว - 2 นิ้ว 
 3.  แบบแสดงการนำสัญลักษณ์ไปใช้ในกิจกรรมต่างๆของหน่วยงานหรือสินค้านั้นๆ
 4.  หุ่นจำลองแสดงการนำไปใช้ในข้อ 3 แต่ทำจำลองเหมือนจริง เป็น 3 มิติ เช่น ป้ายชื่อร้าน
                         5.  ข้อมูล
5.1  คำอธิบายแนวความคิดและความหมายของสัญลักษณ์ตลอดจนหลักการทางการออกแบบที่นำมาใช้
5.2   ชื่อบริษัทผู้ออกแบบ ชื่อนักออกแบบ ชื่อควบคุม สถานที่ติดต่อ ฯลฯ
       6.  ผลงานการออกแบบ
       7.  เทคนิคการนำเสนอแบบบรรยายต่อลูกค้า ควรศึกษาเทคนิค ดังนี้
      - รู้และเข้าใจแนวความคิด
      - รู้จักเทคนิคสร้างความเป็นกันเอง
      - สร้างทางเลือกที่มีอยู่ในผลงานหลายๆแบบ และรู้จักทางออกที่ถูกต้องร่วมเหมาะสมกันกับลูกค้า
      - เข้าใจความแตกต่างของบุคคล
      - รู้จักอ้างอิงเหตุผลมากกว่าความรู้สึกชอบในแบบใดแบบหนึ่ง
      - รู้จักกาลเทศะ กำหนดช่วงเวลาให้เหมาะสม
      - ไม่โน้มน้าวเชิงบังคับให้เลือกแบบใดแบบหนึ่ง
      - รู้จักการใช้สื่อ โสตทัศนูปกรณ์
      - รู้จักควบคุมอารมณ์ ไม่เครียด
          7.1  มีเทคนิคการพูดชัด สั้นกะทัดรัดได้ใจความ
          7.2 สรุป และตรวจสอบแนวคิด
                        8.  การนำเสนอสัญลักษณ์ ต่อผู้บริโภค 
                        การนำเสนอสัญลักษณ์ เพื่อเน้นให้เห็นว่าที่มาของการออกแบบหรือการนำสัญลักษณ์ไปใช้ในเชิงโฆษณา อาจใช้เทคนิคศิลปะมาช่วยให้เกิดความตื่นเต้น น่าสนใจ


ขั้นการนำสัญลักษณ์ไปใช้ประโยชน์
            1.  ความสัมพันธ์กันเป็นชุด (Corporated)
                        สัญลักษณ์ที่มีความสัมพันธ์กันควรทำให้เหมือนกันเป็นชุดเดียวกัน
            2.  การนำสัญลักษณ์ไปใช้ในสื่อต่างๆ
                        2.1  การนำไปใช้ในในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ
                        2.2  นำไปใช้ในสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของบริษัท  แบบฟอร์มกระดาษเอกสารสิทธิ์ขององค์กร(Stationery)
2.3   การนำไปตกแต่งสำนักงานและเป็นป้ายชื่อ บอกสถานที่
2.4   นำไปใช้บนบรรจุภัณฑ์ต้องมีสัญลักษณ์ของเจ้าของสินค้าเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
2.5   นำไปใช้บนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกหรือผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ดอื่น สามารถนำสัญลักษณ์ไปใช้ เป็นสื่อโฆษณาทางอ้อมและทำของชำร่วยแจกแถม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น