วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิเคราะข้อมูล

สรุปความหมาย
"อัตลักษณ์"
     
          Corporate Identity Design (CI Design) หรือ อัตลักษณ์ คือการออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์สินค้า ที่ไม่ได้หมายถึงการสร้างแบรนด์โดยตรง แต่เป็นหน้าต่างสำคัญที่จะกำหนดหน้าตาและทิศทางของแบรนด์นั้นๆ การออกแบบอัตลักษณ์นี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ใช่แค่การออกแบบ “โลโก้” แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดของแบรนด์ CI Design คือ การออกแบบ “ภาพลักษณ์ทั้งหมดของแบรนด์” ที่จะทำให้คนภายนอกสัมผัสได้เฉกเช่นเดียวกับที่องค์กรต้องการสื่อออกไป
          เป็นความเข้าใจโดยทั่วไปว่า Corporate Identity หรืออัตลักษณ์องค์กรเปรียบเสมือน "บุคลิก" หรือ "ลักษณะเฉพาะ" ซึ่งถูกออกแบบให้สอดคล้องกับพันธกิจ วิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร เพื่อให้คนทั่วไปพบเห็น หรือรับรู้ถึง Corporate Identity ผ่านตราสินค้าและเครื่องหมายการค้า
          ในทางทฤษฎี องค์กรส่วนใหญ่สร้าง Corporate Identity ผ่าน 3 องค์ประกอบ คือ

  1. Design - การออกแบบ เช่น โลโก้ สี เครื่องแบบพนักงาน ฯลฯ
  2. Communications - การสื่อสาร ซึ่งในที่นี้รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก 
  3. Culture - พฤติกรรม

       โดยพื้นฐาน Corporate Identity มีความสำคัญอย่างยิ่ง ความสำคัญภายใน เกี่ยวเนื่องกับการมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมของสมาชิกทุกคนในองค์กร สะท้อนบุคลิกโดยรวมที่ต้องการสื่อถึงคนภายนอก ความรู้สึกร่วมที่มีต่อเป้าหมาย ทิศทางขององค์กรนั้นๆ ความสำคัญภายนอก ทำให้ผู้ติดต่อสื่อสาร หรือผู้มีปฏิสัมพันธ์ด้วย รู้สึกได้ถึงบุคลิกขององค์กร ความแตกต่างกับองค์กรอื่น เช่น ปรัชญา หรือค่านิยมที่ฝั่งลึกอยู่ในวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ
        อย่างไรก็ตาม การสร้าง Corporate Identity ที่แข่งแกร่งจะเกิดขึ้นได้จากการใช้ชื่อ ตัวอักษร โลโก้ สี รวมถึงการสื่อสารถึงกลยุทธ์ ความสำเร็จ กิจกรรมต่างๆขององค์กรอย่างชัดเจน ต่อเนื่องยิ่งกว่านั้นยังมีความสัมพันธ์แนบแน่นการสร้างแบรนด์ การทำให้คนภายนอกได้รับประสบการณ์ที่ดีจากแบรนด์ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบหลักอย่างหนึ่งในการสร้าง Corporate Identity 


    วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    Ideas Sketch

    IDEAS SKRTCH

    แนวคิดในการออกแบบ
              มีความเรียบง่าย สื่อความหมายชัดเจน เป็นการสื่อความหมายที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ รูปทรงที่ได้เป็นการสร้างตัวอักษรจากคำว่า i-sac ในแบบง่ายๆ ด้วยการนำรูปแบบของเรขาคณิตและหาข้อมูลที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ กับการสิ่งที่เดี่ยวกับการแพทย์ นำมาสเก็ตเป็นภาพแล้วผสมกับรูปทรงเรขาคณิต นำมาเป็นส่วนประกอบของงานออกแบบ
    Program    : วาดเส้นตามแบบสเก็ตโดยโปรแกรม Adobe Illustrator cs3
            : สร้างเอฟเฟคให้ตัวอักษรด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop cs3
    สี
              เลือกใช้สีเขียวเข้มเป็นหลัก เนื่องจากสีเขียวเข้มเป็นสีประจำสาขาแพทย์ ซึ่งได้มาจากการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลได้ผลลับออกมาว่า สีเขียว เป็นกลุ่มสีโทนเย็น ให้ความรู้สึกสดชื่น สบายตา ผ่อนคลาย ปลอดภัย เป็นสีที่ให้ความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ สีเขียวเข้มถูกใช้ให้เป็นสีประคณะแพทย์ในหลายๆ มหาวิทยาลัย เช่น

         มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
         มหาวิทยาลัยศรีนคริรทรวิโรฒ
         มหาวิทยาลัยมหิดล
         มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
















    ตัวอย่างเฉดสี

    HTML
    name
    R G B
    Hex
    ตัวอย่างสี
    GreenyellowADFF2F 
    Chartreuse7FFF00 
    สีเขียวพื้นหญ้า (Lawngreen)7CFC00 
    สีเขียวอ่อน (มะนาวอ่อน) (Lime)00FF00 
    Palegreen98FB98 
    Lightgreen90EE90 
    Mediumspringgreen00FA9A 
    Springgreen00FF7F 
    Yellowgreen9ACD32 
    สีเขียวมะนาว (Limegreen)32CD32 
    Mediumseagreen3CB371 
    สีเขียวน้ำทะเล (Seagreen)2E8B57 คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
    สีเขียวป่า (Forestgreen)228B22 
    สีเขียว (Green)008000 
    Olivedrab6B8E23 
    สีเขียวมะกอก (Olive)808000 คณะเภสัชศาสตร์
    Darkolivegreen556B2F 
    สีเขียวเข้ม (Darkgreen)006400 
    สีเขียว (น้ำ) ฟ้าอ่อน (Aquamarine)7FFFD4 
    Mediumaquamarine66CDAA 
    Darkseagreen8FBC8F 
    Lightseagreen20B2AA 
    Darkcyan008B8B 
    Teal008080

    วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีความเกี่ยวข้อง

    สิ่งพิมพ์มีการนำเสนอรูปแบบที่แตกต่างกันเป็น 2 ประเภท คือ สิ่งพิมพ์โดยตรง
    และสิ่งพิมพ์โดยอ้อม (โกสุม สายใจ. 2537: 25-42)

    1. สิ่งพิมพ์โดยตรง
    เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อการอ่าน โดยผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากเนื้อหา
    อย่างต่อเนื่อง แสดงความเป็นสิ่งพิมพ์ด้วยตัวเอง เช่น

    1.1 แผ่นพับ           เป็นสิ่งพิมพ์แผ่นเดียวคล้ายแผ่นปลิว (leaflet) แต่ใช้กระดาษ
    หนากว่า สามารถพับได้ตั้งแต่สองพับขึ้นไป ทำให้พกพาได้สะดวก ใช้พื้นที่ทั้งหน้าและหลังของ
    กระดาษ ขนาดที่นิยมมักเป็นขนาดกระดาษ A4 หรือ 8.25” x 11.75” แต่ก็มีขนาดใหญ่
    ที่สามารถพับได้ตั้งแต่ 16 หน้า ถึง 48 หน้า แผ่นพับบางชนิดมีการเจาะปกเป็นรูปทรงต่างๆ
    มีการนำเสียงมาใส่ หรือแทรกกระดาษบางๆ เข้าไปในแต่ละพับ เนื้อหาในแผ่นพับมักเป็นการ
    นำเสนอข่าวสารเฉพาะกิจในลักษณะของการแนะนำเป็นใจความสรุป และอาจเลือกแจก
    เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย แผ่นพับจัดเป็นสิ่งพิมพ์ชนิดส่งตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย (direct mail)
    ออกแบบได้โดยอิสระแต่ต้องพิจารณาขนาดของข้อมูลอย่างชัดเจน แสดงลักษณะเฉพาะแต่ละ
    หน้าและความสัมพันธ์ระหว่างหน้าอื่นๆ ที่จะพับมาต่อกันต้องสอดคล้องกัน นอกจากนี้การเลือก
    ภาพประกอบที่พิถีพิถันเป็นพิเศษ จะจูงใจให้ผู้ดูได้พิจารณาได้นานและดูได้หลายครั้ง

    ภาพที่ 8.3 แผ่นพับ สามารถพับได้ตั้งแต่ 2 พับขึ้นไป ใช้พื้นที่ทั้งหน้าและหลังของกระดาษ พกพาสะดวก
    1.2 โบรชัวร์           เป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศสโดยเรียกทับศัพท์สิ่งพิมพ์
    ชนิดหนึ่งที่มีความหมายถึงหนังสือเล่มเล็ก กล่าวคือต้องมีการเย็บเล่มเข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่ทำ
    เล่มแบบเย็บมุงหลังคา ซึ่งต้องมีปกหน้า-หลัง ปัจจุบันมีหลายขนาดและอาจไม่เย็บเล่มก็ได้
    แต่สาระสำคัญคือเป็นงานพิมพ์เฉพาะกิจที่มุ่งเสนอข่าวสารเป็นการเฉพาะและต้องการ
    รายละเอียดของเนื้อหามากกว่าแผ่นพับทั่วไป เช่น เรายการอาหารตามภัตตาคาร เอกสาร
    แนะนำองค์กรหรือบริษัท เป็นต้น

    ภาพที่ 8.4 โบรชัวร์มีความหมายถึงหนังสือเล่มเล็ก ส่วนใหญ่ทำเล่มเย็บมุงหลังคา ปัจจุบันมีหลายขนาด
    และอาจไม่เย็บเล่มก็ได้

     
    1.3 โปสเตอร์
              เป็นสิ่งพิมพ์หน้าเดี่ยวขนาดใหญ่ มีเนื้อหาสาระนำเสนอ
    ข่าวสารเพื่อการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่ ใช้ตัวอักษรและสีที่เห็นชัด ข้อความ
    กระทัดรัด เข้าใจง่าย มีรูปสินค้า บริการหรือเรื่องราวที่ต้องการสื่อสารติดแสดงในที่ชุมชน
    โปสเตอร์ไม่มีขนาดที่ตายตัวขึ้นอยู่กับขนาดกระดาษและการนำไปใช้ โปสเตอร์สามารถ
    แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
         1. โปสเตอร์นอกสถานที่ ได้แก่ โปสเตอร์ขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า
    บิลบอร์ด (billboard)
         2. โปสเตอร์ประเภทเคลื่อนที่ ได้แก่ โปสเตอร์ติดตามข้างรถเมล์
    (bus-side) ท้ายรถเมล์ (bus-back) โปสเตอร์ติดบริเวณที่สาธารณะทั่วไป
         3. โปสเตอร์ติดภายใน ได้แก่ โปสเตอร์ติดตามสำนักงานหรือ
    ห้างสรรพสินค้า
         4. โปสเตอร์ประเภท 3 มิติ เป็นลักษณะสื่อผสม อาจนำคน เข้า
    มาผสม เน้นสื่อเพื่อสาธารณะโดยตรง หรือบิลบอร์ดที่มีส่วนยื่นออกมา


    ภาพที่ 8.5 โปสเตอร์ชนิดต่างๆ
    1. บิลบอร์ด เป็นโปสเตอร์กลางแจ้งขนาดใหญ่
    2. โปสเตอร์ติดตามข้างรถเมล์หรือท้ายรถเมล์
    3. โปสเตอร์ติดภายใน
    4. โปสเตอร์ประเภท 3 มิติ เป็นบิลบอร์ดที่มีส่วนยื่นออกมา

    
    
    1.4 แผ่นปลิว
              ได้แก่ เอกสารสิ่งพิมพ์ที่บรรจุข่าวสารหรือข้อเขียนที่
    องค์กรนั้นต้องการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยมากจะใช้เป็นกระดาษแผ่นเดียว รูปแบบ
    การนำเสนอสาระข้อมูลลงแผ่นปลิวไม่มีข้อจำกัดตายตัว แผ่นปลิวเป็นสื่อที่มีค่าใช้จ่าย
    ในการผลิตต่ำสุดทำให้สามารถผลิตได้ทีละมากๆ แผ่นปลิวไม่มีขนาดที่แน่นอน เพื่อความ
    สะดวกในการผลิตและใช้ประโยชน์ของเนื้อกระดาษได้เต็มที่ โดยมากจึงใช้กระดาษขนาด A4
    เพราะเป็นขนาดที่ประหยัดที่สุด จุดอ่อนของแผ่นปลิวโดยทั่วไปที่เห็นได้ชัดคือคุณภาพ
    ของกระดาษและระบบการพิมพ์ การเลือกใช้สีที่ค่อนข้างจำกัดเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำ
    แต่ถ้าเป็นแผ่นปลิวโฆษณาในวงการธุรกิจอาจมีการเน้นคุณภาพของวัสดุ การออกแบบและ
    ระบบการพิมพ์ที่ประณีตสวยงามได้ไม่แพ้สื่อประเภทอื่น

    ภาพที่ 8.6 แผ่นปลิวโดยมากจะเป็นกระดาษแผ่นเดียว รูปแบบการนำเสนอสาระไม่ตายตัว มักใช้กระดาษ
    ขนาด A4 เพราะเป็นขนาดที่ประหยัดที่สุด

    
    2. สิ่งพิมพ์โดยอ้อม
              เป็นสิ่งพิมพ์ที่นำไปประกอบหรือไปเป็นส่วนหนึ่งของตัวสินค้า ผลิตภัณฑ์
    หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น

    2.1 โลโก้ เป็นสิ่งพิมพ์ที่เป็นภาพเครื่องหมาย ตราสัญลักษณ์ หรือตัวอักษร          ที่สื่อถึงกิจกรรมหรือภาพลักษณ์ของหน่วยงาน โลโกมีที่ใช้ทั้งในและนอกสถานที่ (communication
    environments) เช่น ตามสถานที่ต่างๆ สี่แยก สามแยก ตามถนนหนทาง หรืออยู่บนสื่อ(media) เช่น สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ อยู่บนผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องใช้ บรรจุภัณฑ์ หัวจดหมาย
    เครื่องใช้สำนักงาน โลโกที่ดีต้องมีลักษณะพิเศษเป็นเครื่องหมายที่แสดงคุณภาพของสินค้า
    หรือบริการของหน่วยงานหรือสถานประกอบการนั้น ดังนั้นการออกแบบโลโกแต่ละครั้ง
    ต้องทำการศึกษาข้อมูลให้ดีถึงประเภทหรือบริการคู่แข่ง กลุ่มเป้าหมาย สภาพแวดล้อม
    ทางการตลาด นักออกแบบสิ่งพิมพ์จำเป็นต้องจับประเด็นให้ได้ เพื่อนำเสนอรูปหรือราย
    ละเอียดอื่นๆ ที่จะมาเป็นโลโก้

    ภาพที่ 8.11 โลโก เป็นสิ่งพิมพ์ที่เป็นภาพเครื่องหมาย ตราสัญลักษณ์หรือตัวอักษรที่สื่อถึงกิจกรรม หรือ
    ภาพลักษณ์ของหน่วยงาน


    2.5 เครื่องใช้สำนักงาน เป็นสิ่งแรกที่โลโกจะปรากฏเพื่อแสดงเอกลักษณ์
              ของหน่วยงานนั้น เครื่องใช้สำนักงานที่ใช้ในธุรกิจมีจุดมุ่งหมายเริ่มแรกคือเพื่อการโฆษณา
    เริ่มตั้งแต่หัวจดหมายซึ่งโดยทั่วไปจะใช้กระดาษเขียนจดหมายขนาด A4 พร้อมซองจดหมาย
    เข้าชุดกัน นอกจากนี้ยังมีนามบัตร กระดาษบันทึกความจำ ใบเสร็จรับเงิน จดหมายข่าว
    และป้ายติดเอกสารสำหรับส่งทางไปรษณีย์ (Denton. 1992: 155)
    ยังมีสิ่งพิมพ์อีกมากที่ปรากฏในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งที่พิมพ์ลงบนวัตถุ
    2 มิติ และ 3 มิติ มีทั้งสิ่งพิมพ์ที่ใหญ่มากจนถึงเล็กที่สุด ในที่นี้จึงกล่าวถึงสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ลงบน
    กระดาษเป็นส่วนใหญ่

    ภาพที่ 8.15 เครื่องใช้สำนักงาน เป็นสิ่งแรกที่โลโกจะปรากฏเพื่อแสดงเอกลักษณ์ของหน่วยงานนั้น

    สรุปสิ่งพิมพ์มีสถานะเป็นสื่อกลางรองรับหรือเผยแพร่ข่าวสารที่อาจเป็นภาพสัญลักษณ์
    หรือข้อความที่ออกแบบให้สวยงาม น่าสนใจ และผ่านกระบวนการพิมพ์จนกลายเป็นสิ่งพิมพ์
    โดยตรงและสิ่งพิมพ์โดยอ้อมซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน

    ข้อควรจำ
    1. สิ่งพิมพ์โดยตรง เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อการอ่าน โดยผู้บริโภคจะได้
    ประโยชน์จากเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง แสดงความเป็นสิ่งพิมพ์ด้วยตัวเอง เช่น หนังสือ นิตยสาร
    หนังสือพิมพ์ ฯลฯ
    2. สิ่งพิมพ์โดยอ้อม เป็นสิ่งพิมพ์ที่นำไปประกอบหรือไปเป็นส่วนหนึ่งของ
    ตัวสินค้าผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น โลโก โปสการ์ด ฉลากสินค้า สิ่งพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์
    เครื่องใช้สำนักงาน
    3. การนำเสนอผลงานสิ่งพิมพ์ต้องกำหนดรูปแบบให้ชัดเจนตามวัตถุประสงค์
    ว่าเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทใด กลุ่มเป้าหมายคือใคร

    เอกสารอ้างอิง
    โกสุม สายใจ. (2537). การออกแบบนิเทศศิลป์ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
    ประชิด ทิณบุตร. (2539). ความหมายและประเภทของสิ่งพิมพ์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
    การออกแบบทางการพิมพ์. (หน้า 14-16). นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
    สุโขทัยธรรมาธิราช.
    วรวิชญ เวชนุเคราะห์. (2531). กระแส’ 30. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
    Denton, C. (1992). Graphic for visual communication. Dubuque, IA: Wm. C. Brown.

    วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    ศิลปนิพนธ์

    โครงร่าง
    หัวข้อ :
         กระบวนการออกแบบอัตลักษณ์เพื่อประชาสัมพันธ์ : กรณีศึกษาสถาบันกวดวิชา ISAC


    V  ตัวแปรต้น : อัตลักษณ์ของสถาบันกวดวิชา ISAC
        ตัวแปรตาม : กระบวนการออกแบบอัตลักษณ์
    P  ประชากร : อัตลักษณ์ของสถาบันกวดวิชา ISAC
    A  บริบท : อัตลักษณ์ของสถาบันกวดวิชา ISAC (กรอบของการศึกษา)
    T  ช่วงเวลา : เพื่อประชาสัมพันธ์




             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบอัตลักษณ์ให้กับสถาบันกวดวิชา ISAC คือการสร้างตราสัญลักษณ์ เพื่อเป็นตัวแทนบ่งบอกถึงลักษณะขององค์กรหรือสินค้าที่มีอยู่ ให้มีความสอดคล้องกลมกลืนตามหลักของการออกแบบ เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับนักออกแบบในปัจจุบัน

    2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
              ในสังคมปัจจุบันการออกแบบเข้ามามีบทบาทอย่างมากในด้านการแข็งขันกันทางธุรกิจ โดยได้ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ หลายองค์กรให้ความสำคัญกับการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรอย่างจริงจัง เพื่อสร้างจุดสนใจและสิ่งที่แตกต่างกัน เพื่อบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่เหมือนกับคู่แข่งทางธุรกิจที่อยู่ในประเภทเดียวกัน เพื่อจะให้ผู้คนจดจำได้ มองเห็นและรู้สึกถึงคามแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจที่มีรูปแบบคล้ายหรือเหมือนกัน เพื่อสร้างจุดความมุ่งมั่นและจุดยืนขององค์กร ซึ่งงานออกแบบดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบสัญลักษณ์ของสถาบัน ป้ายชื่อร้าน ไปจนถึงสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อประชาสัมพันธ์ ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้จะถูกนำไปประยุกต์เป็นงานออกแบบให้กับองค์กร
    จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว พบว่าการออกแบบอัตลักษณ์ให้องค์กร ควรเริ่มต้นจากการตั้งจุดมุ่งหมายในการออกแบบ มีสิ่งที่จำเป็นต้องรู้หรือการศึกษาหาข้อมูล คือ การออกแบบตราสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นการสร้างคุณค่าความประทับใจให้กับสัญลักษณ์ว่าเมื่อเห็นแล้วนึกถึงอะไร ศึกษาถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งทางตรงและทางอ้อมในทางที่ดี มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมความรู้สึกที่มีต่อองค์กร จึงได้ออกแบบตราสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายการค้าของบริษัท หรือองค์กร อาจมีลักษณะเป็นตัวอักษรที่มีรูปแบบโดดเด่น หรือเป็นภาพที่มีชื่อบริษัทอยู่ด้วยเป็นสัญลักษณ์ หรือมิเช่นนั้นก็ประกอบขึ้นด้วยทุกองค์ประกอบที่กล่าวมารวมกัน แต่ไม่ว่าจะมีรูปแบบเป็นอย่างไรวัตถุประสงค์ของโลโก้ คือการบ่งบอกถึงภาพลักษณ์ของบริษัทหรือองค์กรนั้น  การออกแบบโลโก้เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างแบรนด์ จะทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำแบรนด์ขององค์กรหรือสินค้าได้ง่ายยิ่งขึ้
    ดังนั้นสรุปได้ว่า จากแนวคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์เพื่อให้เป็นงานออกแบบเชิงพาณิชย์จึงต้องหาความแตกต่างขององค์กรให้มีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นกว่าองค์กรอื่นๆที่อยู่ในประเภทเดียวกันเพื่อให้ได้อัตลักษณ์ที่มีความเหมาะสมในเรื่องรูปแบบและมีความสวยงามและสมคุณค่าต่อองค์กรนั้นๆ ให้ออกมาเป็นสไตล์โมเดิร์น (Modern Style) เป็นรูปแบบที่เน้นในเรื่องของความเรียบง่าย เข้าถึงคนทุกวัย โดยใช้เส้นสายขององค์ประกอบและเป็นแบบกราฟิค นำรูปทรงเรขาคณิตคณิตสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ทรงกลมมาใช้ การเลือกใช้องค์ประกอบที่ดูน้อยทำให้รู้สึกสบาย ไม่เลี่ยน สีสันที่ใช้จะมีเพียง 2-3 สีเท่านั้น หรืออาจมีการเลือกใช้รูปทรงไม่มากเพื่อให้เข้ากับรูปแบบชีวิตที่ทันสมัยในปัจจุบันและเน้นที่ความสดใสของสีสรร อีกทั้งยังนำไปออกแบบร่วมกับสื่อสิ่งพิมพ์ในการประชาสัมพันธ์องค์กร

    3. กลุ่มผู้บริโภค
             กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นวัยรุ่น เนื่องจากสถาบันกวดวิชา ISAC เป็นสถาบันสอนสำหรับนักเรียนสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย และมีความมุ่งเน้นนักศึกษาที่ต้องการจะศึกษาในคณะแพทย์ศาสตร์

    4. บริบท
             สถาบันกวดวิชา ISAC

    5. ช่วงเวลา
    ช่วงเวลาของการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ระหว่าง พ.ศ. 2554-2556

    6. วัตถุประสงค์การวิจัย
        3.1  เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบตราสัญลักษณ์เชิงพาณิชย์ศิลป์
         3.2  เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (PROTOTYPE) กระบวนการออกแบบเชิงพาณิชย์ศิลป์ ภายหลังการออกแบบตราสัญลักษณ์

    7. สมมติฐานการวิจัย
              -   (ในรายงานเว้นไว้ก่อนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง)
                สถาบันกวดวิชาเพิ่งก่อตั้งขึ้นภายใต้แบรนด์ ISAC จึงเกิดแนวคิดที่จะออกแบบอัตลักษณ์เพื่อต้องการสื่อถึงภาพลักษณ์ทั้งหมดของแบรนด์” ที่จะทำให้คนภายนอกสัมผัสได้ถึงคาแรคเตอร์ของกิจการ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร โดยการออกแบบจะดึงเอาบุคลิกขององค์กรมาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบเพื่อให้มีความแตกต่างจากองค์กรอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน งานที่ได้การออกแบบไว้เป็นประเภท Combination Mark เป็นเครื่องหมายที่มีทั้งภาพและตัวอักษรมารวมอยู่ในเครื่องหมายชิ้นเดียวกัน เป็นการนำตัวอักษรมาออกแบบให้มีเอกลักษณ์บวกกับใช้สีเขียวเข้ม ซึ่งเป็นสีประจำคณะแพทย์ของหลายๆ สถาบัน มาเป็นสีประจำขององค์กร

    8. นิยามศัพท์เฉพาะ
                อัตลักษณ์ หมายถึง Corporate Identity Design (หรือ CI Design) คือ การออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์สินค้า ที่ไม่ได้หมายถึงการสร้างแบรนด์โดยตรง แต่เป็นหน้าต่างสำคัญที่จะกำหนดหน้าตาและทิศทางของแบรนด์นั้นๆ ได้ การออกแบบอัตลักษณ์นี้ไม่ใช่เพียงแค่การออกแบบ “โลโก้” แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดของแบรนด์แต่เป็นการออกแบบ “ภาพลักษณ์ทั้งหมดของแบรนด์” ที่จะทำให้คนภายนอกสัมผัสได้ เช่นเดียวกับที่องค์กรต้องการสื่อออกไป
    สัญลักษณ์ หมายถึง เอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ล่ะองค์กร ที่แสดงออกใน ที่แสดงออกในรูปแบบของ ตราสัญลักษณ์ (Logo) สี (Color) ตัวอักษร (Fonts) และองค์ประกอบของงานกราฟิก (Graphic elements)
                การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน
               Combination Mark หมายถึง ประเภทของการออกแบบตราสัญลักษณ์ที่เลือกใช้เป็นเครื่องหมาย ที่มีทั้งภาพ และตัวอักษรมารวมอยู่ในเครื่องหมายชิ้นเดียวกัน

    9. ขอบเขตการศึกษา
         9.1  แบบร่าง (IDEA  SKETCH)
         9.2  แบบที่ทำการสรุป (CONCEPT  SKETCH)
         9.3  แบบเพื่อนำไปผลิต (WORKING  DRAWING  หรือ ART  WORK) 
         9.4  ต้นแบบงานเพื่อการนำไปใช้เหมือนจริง (PROTOTYPE)
         9.5  รายงานการจัดทำโครงการจำนวน  8 ฉบับ เพื่อการนำเสนอต่อคณะกรรมการ 
         9.6  ซีดีรายงานการจัดทำโครงการเพื่อการนำเสนอต่อคณะกรรมการ จำนวน 1 ชุด

    10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
         10.1  กระบวนการออกแบบอัตลักษณ์
         10.2  ต้นแบบของการนำไปใช้งานเหมือนจริง

    11. การทบทวนวรรณกรรมและเอกสารอ้างอิง
    การวิจัยเรื่องการออกแบบ “กระบวนการกออกแบบอัตลักษณ์เพื่อประชาสัมพันธ์ : กรณีศึกษาสถาบันกวดวิชาISAC” เป็นการศึกษาถึงกระบวนการออกแบบและรูปแบบของสัญลักษณ์ให้กับองค์กรเพื่อเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร โดยมีการวิเคราะห์ปัจจัย แนวคิด กลยุทธ์ในการออกแบบ โดยนำแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการทำศึกษาวิจัยดังนี้
     ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
             11.1 ความหมายของงานออกแบบ (Design)
             11.2 ความหมายของอัตลักษณ์ (Corporate Identity Design)
                            11.2.1 อัตลักษณ์ (Corporate Identity Design)
                            11.2.2 เครื่องหมายการค้า
                            11.2.3 ความสำคัญของสัญลักษณ์
              11.3 ความหมายของ “ของที่ระลึก”
                            11.3.1 การจัดแบ่งประเภทของที่ระลึก
                            11.3.2 การกำหนดแบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้

    11.1 ความหมายของงานออกแบบ (Design)
    งานออกแบบ (Design) เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) กระบวนการที่ว่านั้นประกอบด้วยความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาในเรื่องของสิ่งที่สามารถรับรู้และมองเห็นได้ การจัดระบบ และการประเมินผล ในส่วนของผลผลิตหมายถึงผลจากสิ่งที่มองเห็น ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงองค์ประกอบภาพ (Visual Element) วัสดุ และการใช้งานที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขององค์กรนั้นๆ
    การจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์เฉพาะตัวที่มีอยู่ในตัวนักออกแบบแต่ล่ะคน หากถามว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นได้นั้น ไม่มีผู้ใดสามารถตอบได้ เนื่องจากไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว บางคนอาจได้ดูจากหนังสือ ชมภาพยนตร์ ฟังดนตรี หรือนั่งคิดเงียบๆ คนเดียว บางคนอาจได้จากการไปชมงานต่างๆ เป็นต้น แต่จะด้วยวิธีใดก็ตาม นักออกแบบที่ประสบความสำเร็จมักจะเป็นผู้ที่รู้จักบันทึกหรือเก็บข้อมูลที่เห็นว่าน่าสนใจใส่แฟ้มไว้ เสมือนเป็นการเก็บสะสมแนวคิดต่างๆไว้เลือกใช้งาน

    11.2 ความหมายของอัตลักษณ์
                11.2.1 อัตลักษณ์ (Corporate Identity Design)
                        อัตลักษณ์คือ อัตลักษณ์คือความรู้สึกนึกคิดต่อตนเองว่า "ฉันคือใคร" ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิสังสรรค์ระหว่างตัวเรากับคนอื่น โดยผ่านการมองตัวเองและคนอื่นมองเราในขณะนั้น (Kath2000 ; 6-7 อ้างใน พิศิษฏ์ ) และในขณะเดียวกันมโนทัศน์อัตลักษณ์ จะถูกกล่าวควบคู่ไปกับเรื่องของอำนาจ นิยามความหมายหรือการสร้างภาพแทนความจริง(representation)เมื่ออัตลักษณ์ไปสัมพันธ์กับแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้นแล้วดูจะมีความหมายที่แตกต่างจากความหมายที่เข้าที่เข้าใจกันโดยสามัญสำนึกมาก(อภิญญา,2543:1)
                         Corporate Identity Design (หรือ CI Design) คือ การออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์สินค้า ที่ไม่ได้หมายถึงการสร้างแบรนด์หนึ่งๆ โดยตรง แต่เป็นหน้าต่างสำคัญที่จะกำหนดหน้าตาและทิศทางของแบรนด์นั้นๆ ได้ การออกแบบอัตลักษณ์นี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันไม่ใช่แค่การออกแบบ “โลโก้” แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดของแบรนด์ CI Design คือ การออกแบบ “ภาพลักษณ์ทั้งหมดของแบรนด์” ที่จะทำให้คนภายนอกสัมผัสได้เช่นเดียวกับที่องค์กรต้องการสื่อออกไป

    11.2.1 ตราสัญลักษณ์ (Logo)
             ราชบัณฑิตยสถาน (2530) ได้ให้ความหมายของ Logo ไว้ว่า “ตราสัญลักษณ์” คำว่า Logo ตัดทอนมาจาก Logotype หมายถึง เครื่องหมาย ตรา สัญลักษณ์ ซึ่งสื่อความหมายเฉพาะถึงส่วนราชการ มูลนิธิ สมาคม บริษัท ห้างร้าน ฯลฯ อาจจะเป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ หรือทั้งสองอย่างประกอบกัน รูปภาพนั้นมักเป็นลักษณะเลขนศิลป์ (Graphic Art)
                จะเห็นได้ว่า Logo หรือ ตราสัญลักษณ์ หรือตรา หรือใช้ทับศัพท์โลโก้ มีความหมายอย่างกว้างแต่อาจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                11.2.1.1 ตราสัญลักษณ์ของภาคส่วนราชการ และ องค์กรที่ไม่มุ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น สัญลักษณ์ของ กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด มูลนิธิ สมาคม พรรคการเมือง และ รัฐวิสาหกิจ
                11.2.1.2 ตราสัญลักษณ์ของบริษัท ห้างร้าน หรือเรียกว่า สัญลักษณ์ทางการค้าที่มุ่งผลประโยชน์เชิงธุรกิจ
                ตราสินค้ากับตราบริษัทบางแห่ง ถ้ามีสินค้าน้อยชนิดจะใช้สินค้ากับชื่อบริษัทร่วมกัน เช่น ห้างขายยาอังกฤษตรางู มีแป้งตรางูเป็นสินค้า
                แต่ยังมีผู้ให้ความหมายของ Logo ในลักษณะขอบเขตที่แคบกว่าที่กล่าวมา (วิรุณ ตั้งเจริญ 2531 อ้างถึงใน Berryman 1979) อธิบายว่า เครื่องหมายภาษา (Logo) จะแสดงภาษาตัวอักษรที่เป็นคำอ่านออกเสียงเป็นคำ ตามความต้องการของผู้ถือลิขสิทธิ์ ใช้แสดงถึง บริษัท ห้างร้าน หรือเป็นตรา (Brand) ของสินค้า ลักษณะสำคัญคือ อ่านได้ มีเอกภาพชัดเจน เช่น Exxon ไวไว เครื่องหมายภาษาเหล่านี้เป็นเสมือนเครื่องชี้เฉพาะ (Identity Device) ได้อย่างดี เพราะมีความสัมพันธ์ทั้งภาพและเสียง (Visual and Phonetic Codes) ที่เราคุ้นเคยต่างไปจากภาพลักษณ์ที่เป็นนามธรรม เป็นลักษณะเฉพาะ อาจใช้แทนบริษัท ห้างร้าน หรือชื่อสินค้าก็ได้
                ดังนั้น Logo จึงมีความหมาย 2 แนวทาง คือ หมายถึง ตราสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของหน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน หรือหมายถึง ตราสัญลักษณ์ที่ออกแบบโดยใช้ตัวอักษรเป็นคำที่อ่านออกเสียงได้ มาประดิษฐ์เป็นลักษณะเฉพาะ อาจใช้แทนบริษัท หรือชื่อสินค้าก็ได้
    11.2.2 เครื่องหมายการค้า (Trade Mark)
                ในบรรดาสัญลักษณ์ที่มีอยู่มากมาย เราสามารถจำกัดความและแยกประเภทออกมาได้ชัดเจน คือ เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) เพราะเครื่องหมายการค้า มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์มากในการจับจ่ายใช้สอย และรับบริการต่างๆ อีกทั้งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์เชิงธุรกิจ ดังนั้น ทุกประเทศจึงต้องออกกฎหมายรองรับเพื่อป้องกันความสับสน และความวุ่นวายจากการปลอมแปลงเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
                Wildbur (1966) กล่าวว่า เป็นคำที่มีการนำมาใช้บ่อยมาก แต่อย่างไรก็ตามยังมีความสับสนในการให้คำจำกัดความอยู่ เราใช้คำ “Trade Mark” เป็นตัวแทนของบุคคล บริษัท ส่วนราชการ หรือองค์กรที่ไม่มีการแข่งขัน และรวมไปถึง การออกแบบเครื่องหมายที่ใช้ตัวอักษรล้วนๆ และเกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ที่เรียกว่า Monogram หรือ Logotype แต่โดยทั่วไปเราจะพบการใช้ทั้ง 2 อย่าง คือ ใช้ตัวอักษรบรรยายใช้ภาพสัญลักษณ์เพื่อความชัดเจนของธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ หรือบริการ
                Kuwayama (1973) ได้แบ่งเครื่องหมายการค้าไว้ดังนี้
                Certification mark หมายถึง เครื่องหมายรองรับ เช่น mark ของญี่ปุ่น หรือ มอก. ของไทย
                Service mark หมายถึง เครื่องหมายบริการ เช่น บริษัท ทัวร์ หรือธนาคาร
                Symbolic mark หมายถึง เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์เฉพาะกิจ ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากเราขาคณิต หรือองค์ประกอบศิลป์ เช่น สัญลักษณ์การแข่งขันกีฬา การประชุม
                Symbols หมายถึง สัญลักษณ์ใช้แทนสิ่งหนึ่ง โดยคิดขึ้นแทนองค์กรหรือหน่วยงาน เช่น สัญลักษณ์ขององค์กรกลาง โครงการตาวิเศษ สมาคมผู้ใช้แรงงาน ฯลฯ
                ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จากหนังสือของ สมศักดิ์ คุณเงิน, ธีระพล อรุณะกสิกร และสถาพร ลิ้มมณี (2535) ได้ให้ความหมายของเครื่องหมายการค้าไว้ ดังนี้
                “เครื่องหมาย” หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ตัวหนังสือ ลายมือชื่อ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน แต่ไม่รวามถึงผลิตภัณฑ์ ตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร
                “เครื่องหมายการค้า” หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้ หรือจะใช้เป็นเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
                “เครื่องหมายรับรอง” หมายความว่า เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า หรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบวิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะใดๆ ของสินค้านั้น หรือรับรองเกี่ยวกับสภาพคุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น
                “เครื่องหมายร่วม” หมายความว่า เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือ จะใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ กลุ่มบุคคลหรือ องค์กร อื่นใดของรัฐหรือเอกชน
                เครื่องหมายการค้า คือ คำ สัญลักษณ์ สี ลวดลาย หรืออุปกรณ์ใดๆ ที่มีลักษณะเฉพาะตัว รวมทั้งสิ่งของสามมิติใดๆ ที่มีรูปร่างเฉพาะ ซึ่งได้รับความคุ้มครองด้วยการจดทะเบียนตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ใช้สอยของผู้ผลิตหรือผู้ค้า ในการทำให้สินค้าของตนแตกต่างไปจากสินค้าของคู่แข่ง หน้าที่หลักของเครื่องหมายการค้าคือ การแสดงแหล่งกำเนิด อย่างไรก็ตาม เครื่องหมายการค้า อาจทำหน้าที่รับประกันสินค้า และการโฆษณาด้วยเช่นกัน
                ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ ลายเซ็น คำ ข้อความ ตัวเลข ฯลฯ ที่มีเอกลักษณ์และไม่มีบทบัญญัติห้ามจดทะเบียนไว้ ถ้านำไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้ากับทางราชการ เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ก็จะถือว่าเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งสิ้น

    งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                10.2.1 ชลธิศา เที่ยวประดิษฐ์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรการออกแบบเอกลักษณ์องค์กรสำหรับโครงการโฮมสเตย์มาตรฐานไทย (Corporate Identity Design for Homestay Standard Thailand) พบว่า เป็นแนวทางการวิจัยการออกแบบสัญลักษณ์องค์กรและข้อมูลพื้นฐานใน 4 ภูมิภาคของไทย เพื่อหาแนวทางในการออกแบบเอกลักษณ์องค์กร รวมทั้งแนวทางแก้ไขและเลือกแบบทดลองที่มีความเป็นไปได้ในแง่การสื่อสาร การออกแบบ และการนำไปใช้งาน เพื่อออกแบบเป็นคู่มือการใช้งานเอกลักษณ์องค์กร สำหรับให้บุคลากรในองค์กร รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนำไปใช้ในการอออกแบบสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์
    10.2.2 อธิวัฒน์ จุลมัจฉา สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การออกแบบสัญลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร (The Design of Sign for Tourism Promotion in Bangkok Metropolotan) พบว่า เป็นการออกแบบสัญลักษณ์เพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งนำมาประมาประยุกต์ให้เข้าเป็นชุดกับสัญลักษณ์ประเภทบริการและการเดินทางจำนวน 1 ชุด โดยทั้งหมดมีความสวยงาม สอดคล้อง กลมกลืน และสื่อความหมายเข้าใจง่ายแก่ผู้ใช้งาน

    12. ระเบียบวิธีวิจัย
         12.1 ประชากร
                อัตลักษณ์สถาบันกวดวิชา ISAC

         12.2 การสุ่มตัวอย่าง
                 ใช้การสุ่มแบบเจาะจง เนื่องจากเป็นกระบวนการของกรอบการวิจัยที่กำหนดไว้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
    12.2.1 ขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิต  (PRE-PRODUCTION)
    - กำหนดประเด็นของปัญหา  ตัวแปรต้น  และตัวแปรตาม  เพื่อ
       ตั้งสมมติฐาน
    - จัดทำแบบร่าง  (IDEA  SKETCH)  และทำการสรุปแบบตามสมมติฐาน 
      (CONCEPT  SKETCH)
    12.2.2 ขั้นตอนการผลิต  (PRODUCTION)
        - กระบวนการก่อนผลิตต้นแบบเหมือนจริง
    12.2.3 ขั้นตอนหลังการผลิต  POST  PRODUCTION)
    -ประเมินผลด้วยเครื่องมือที่สร้างไว้โดยมีความสัมพันธ์กับลักษณะของ
      ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    - วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการวิจัยในรูปแบบความเรียง
         12.3  เครื่องมือในการวิเคราะห์มูล
                - แบบสอบถามความพึงพอใจในการออกแบบ
                - แบบสัมภาษณ์
         12.4  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
                - วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) จากร้อยละ