วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีความเกี่ยวข้อง

สิ่งพิมพ์มีการนำเสนอรูปแบบที่แตกต่างกันเป็น 2 ประเภท คือ สิ่งพิมพ์โดยตรง
และสิ่งพิมพ์โดยอ้อม (โกสุม สายใจ. 2537: 25-42)

1. สิ่งพิมพ์โดยตรง
เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อการอ่าน โดยผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากเนื้อหา
อย่างต่อเนื่อง แสดงความเป็นสิ่งพิมพ์ด้วยตัวเอง เช่น

1.1 แผ่นพับ           เป็นสิ่งพิมพ์แผ่นเดียวคล้ายแผ่นปลิว (leaflet) แต่ใช้กระดาษ
หนากว่า สามารถพับได้ตั้งแต่สองพับขึ้นไป ทำให้พกพาได้สะดวก ใช้พื้นที่ทั้งหน้าและหลังของ
กระดาษ ขนาดที่นิยมมักเป็นขนาดกระดาษ A4 หรือ 8.25” x 11.75” แต่ก็มีขนาดใหญ่
ที่สามารถพับได้ตั้งแต่ 16 หน้า ถึง 48 หน้า แผ่นพับบางชนิดมีการเจาะปกเป็นรูปทรงต่างๆ
มีการนำเสียงมาใส่ หรือแทรกกระดาษบางๆ เข้าไปในแต่ละพับ เนื้อหาในแผ่นพับมักเป็นการ
นำเสนอข่าวสารเฉพาะกิจในลักษณะของการแนะนำเป็นใจความสรุป และอาจเลือกแจก
เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย แผ่นพับจัดเป็นสิ่งพิมพ์ชนิดส่งตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย (direct mail)
ออกแบบได้โดยอิสระแต่ต้องพิจารณาขนาดของข้อมูลอย่างชัดเจน แสดงลักษณะเฉพาะแต่ละ
หน้าและความสัมพันธ์ระหว่างหน้าอื่นๆ ที่จะพับมาต่อกันต้องสอดคล้องกัน นอกจากนี้การเลือก
ภาพประกอบที่พิถีพิถันเป็นพิเศษ จะจูงใจให้ผู้ดูได้พิจารณาได้นานและดูได้หลายครั้ง

ภาพที่ 8.3 แผ่นพับ สามารถพับได้ตั้งแต่ 2 พับขึ้นไป ใช้พื้นที่ทั้งหน้าและหลังของกระดาษ พกพาสะดวก
1.2 โบรชัวร์           เป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศสโดยเรียกทับศัพท์สิ่งพิมพ์
ชนิดหนึ่งที่มีความหมายถึงหนังสือเล่มเล็ก กล่าวคือต้องมีการเย็บเล่มเข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่ทำ
เล่มแบบเย็บมุงหลังคา ซึ่งต้องมีปกหน้า-หลัง ปัจจุบันมีหลายขนาดและอาจไม่เย็บเล่มก็ได้
แต่สาระสำคัญคือเป็นงานพิมพ์เฉพาะกิจที่มุ่งเสนอข่าวสารเป็นการเฉพาะและต้องการ
รายละเอียดของเนื้อหามากกว่าแผ่นพับทั่วไป เช่น เรายการอาหารตามภัตตาคาร เอกสาร
แนะนำองค์กรหรือบริษัท เป็นต้น

ภาพที่ 8.4 โบรชัวร์มีความหมายถึงหนังสือเล่มเล็ก ส่วนใหญ่ทำเล่มเย็บมุงหลังคา ปัจจุบันมีหลายขนาด
และอาจไม่เย็บเล่มก็ได้

 
1.3 โปสเตอร์
          เป็นสิ่งพิมพ์หน้าเดี่ยวขนาดใหญ่ มีเนื้อหาสาระนำเสนอ
ข่าวสารเพื่อการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่ ใช้ตัวอักษรและสีที่เห็นชัด ข้อความ
กระทัดรัด เข้าใจง่าย มีรูปสินค้า บริการหรือเรื่องราวที่ต้องการสื่อสารติดแสดงในที่ชุมชน
โปสเตอร์ไม่มีขนาดที่ตายตัวขึ้นอยู่กับขนาดกระดาษและการนำไปใช้ โปสเตอร์สามารถ
แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
     1. โปสเตอร์นอกสถานที่ ได้แก่ โปสเตอร์ขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า
บิลบอร์ด (billboard)
     2. โปสเตอร์ประเภทเคลื่อนที่ ได้แก่ โปสเตอร์ติดตามข้างรถเมล์
(bus-side) ท้ายรถเมล์ (bus-back) โปสเตอร์ติดบริเวณที่สาธารณะทั่วไป
     3. โปสเตอร์ติดภายใน ได้แก่ โปสเตอร์ติดตามสำนักงานหรือ
ห้างสรรพสินค้า
     4. โปสเตอร์ประเภท 3 มิติ เป็นลักษณะสื่อผสม อาจนำคน เข้า
มาผสม เน้นสื่อเพื่อสาธารณะโดยตรง หรือบิลบอร์ดที่มีส่วนยื่นออกมา


ภาพที่ 8.5 โปสเตอร์ชนิดต่างๆ
1. บิลบอร์ด เป็นโปสเตอร์กลางแจ้งขนาดใหญ่
2. โปสเตอร์ติดตามข้างรถเมล์หรือท้ายรถเมล์
3. โปสเตอร์ติดภายใน
4. โปสเตอร์ประเภท 3 มิติ เป็นบิลบอร์ดที่มีส่วนยื่นออกมา



1.4 แผ่นปลิว
          ได้แก่ เอกสารสิ่งพิมพ์ที่บรรจุข่าวสารหรือข้อเขียนที่
องค์กรนั้นต้องการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยมากจะใช้เป็นกระดาษแผ่นเดียว รูปแบบ
การนำเสนอสาระข้อมูลลงแผ่นปลิวไม่มีข้อจำกัดตายตัว แผ่นปลิวเป็นสื่อที่มีค่าใช้จ่าย
ในการผลิตต่ำสุดทำให้สามารถผลิตได้ทีละมากๆ แผ่นปลิวไม่มีขนาดที่แน่นอน เพื่อความ
สะดวกในการผลิตและใช้ประโยชน์ของเนื้อกระดาษได้เต็มที่ โดยมากจึงใช้กระดาษขนาด A4
เพราะเป็นขนาดที่ประหยัดที่สุด จุดอ่อนของแผ่นปลิวโดยทั่วไปที่เห็นได้ชัดคือคุณภาพ
ของกระดาษและระบบการพิมพ์ การเลือกใช้สีที่ค่อนข้างจำกัดเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำ
แต่ถ้าเป็นแผ่นปลิวโฆษณาในวงการธุรกิจอาจมีการเน้นคุณภาพของวัสดุ การออกแบบและ
ระบบการพิมพ์ที่ประณีตสวยงามได้ไม่แพ้สื่อประเภทอื่น

ภาพที่ 8.6 แผ่นปลิวโดยมากจะเป็นกระดาษแผ่นเดียว รูปแบบการนำเสนอสาระไม่ตายตัว มักใช้กระดาษ
ขนาด A4 เพราะเป็นขนาดที่ประหยัดที่สุด


2. สิ่งพิมพ์โดยอ้อม
          เป็นสิ่งพิมพ์ที่นำไปประกอบหรือไปเป็นส่วนหนึ่งของตัวสินค้า ผลิตภัณฑ์
หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น

2.1 โลโก้ เป็นสิ่งพิมพ์ที่เป็นภาพเครื่องหมาย ตราสัญลักษณ์ หรือตัวอักษร          ที่สื่อถึงกิจกรรมหรือภาพลักษณ์ของหน่วยงาน โลโกมีที่ใช้ทั้งในและนอกสถานที่ (communication
environments) เช่น ตามสถานที่ต่างๆ สี่แยก สามแยก ตามถนนหนทาง หรืออยู่บนสื่อ(media) เช่น สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ อยู่บนผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องใช้ บรรจุภัณฑ์ หัวจดหมาย
เครื่องใช้สำนักงาน โลโกที่ดีต้องมีลักษณะพิเศษเป็นเครื่องหมายที่แสดงคุณภาพของสินค้า
หรือบริการของหน่วยงานหรือสถานประกอบการนั้น ดังนั้นการออกแบบโลโกแต่ละครั้ง
ต้องทำการศึกษาข้อมูลให้ดีถึงประเภทหรือบริการคู่แข่ง กลุ่มเป้าหมาย สภาพแวดล้อม
ทางการตลาด นักออกแบบสิ่งพิมพ์จำเป็นต้องจับประเด็นให้ได้ เพื่อนำเสนอรูปหรือราย
ละเอียดอื่นๆ ที่จะมาเป็นโลโก้

ภาพที่ 8.11 โลโก เป็นสิ่งพิมพ์ที่เป็นภาพเครื่องหมาย ตราสัญลักษณ์หรือตัวอักษรที่สื่อถึงกิจกรรม หรือ
ภาพลักษณ์ของหน่วยงาน


2.5 เครื่องใช้สำนักงาน เป็นสิ่งแรกที่โลโกจะปรากฏเพื่อแสดงเอกลักษณ์
          ของหน่วยงานนั้น เครื่องใช้สำนักงานที่ใช้ในธุรกิจมีจุดมุ่งหมายเริ่มแรกคือเพื่อการโฆษณา
เริ่มตั้งแต่หัวจดหมายซึ่งโดยทั่วไปจะใช้กระดาษเขียนจดหมายขนาด A4 พร้อมซองจดหมาย
เข้าชุดกัน นอกจากนี้ยังมีนามบัตร กระดาษบันทึกความจำ ใบเสร็จรับเงิน จดหมายข่าว
และป้ายติดเอกสารสำหรับส่งทางไปรษณีย์ (Denton. 1992: 155)
ยังมีสิ่งพิมพ์อีกมากที่ปรากฏในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งที่พิมพ์ลงบนวัตถุ
2 มิติ และ 3 มิติ มีทั้งสิ่งพิมพ์ที่ใหญ่มากจนถึงเล็กที่สุด ในที่นี้จึงกล่าวถึงสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ลงบน
กระดาษเป็นส่วนใหญ่

ภาพที่ 8.15 เครื่องใช้สำนักงาน เป็นสิ่งแรกที่โลโกจะปรากฏเพื่อแสดงเอกลักษณ์ของหน่วยงานนั้น

สรุปสิ่งพิมพ์มีสถานะเป็นสื่อกลางรองรับหรือเผยแพร่ข่าวสารที่อาจเป็นภาพสัญลักษณ์
หรือข้อความที่ออกแบบให้สวยงาม น่าสนใจ และผ่านกระบวนการพิมพ์จนกลายเป็นสิ่งพิมพ์
โดยตรงและสิ่งพิมพ์โดยอ้อมซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน

ข้อควรจำ
1. สิ่งพิมพ์โดยตรง เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อการอ่าน โดยผู้บริโภคจะได้
ประโยชน์จากเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง แสดงความเป็นสิ่งพิมพ์ด้วยตัวเอง เช่น หนังสือ นิตยสาร
หนังสือพิมพ์ ฯลฯ
2. สิ่งพิมพ์โดยอ้อม เป็นสิ่งพิมพ์ที่นำไปประกอบหรือไปเป็นส่วนหนึ่งของ
ตัวสินค้าผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น โลโก โปสการ์ด ฉลากสินค้า สิ่งพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์
เครื่องใช้สำนักงาน
3. การนำเสนอผลงานสิ่งพิมพ์ต้องกำหนดรูปแบบให้ชัดเจนตามวัตถุประสงค์
ว่าเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทใด กลุ่มเป้าหมายคือใคร

เอกสารอ้างอิง
โกสุม สายใจ. (2537). การออกแบบนิเทศศิลป์ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ประชิด ทิณบุตร. (2539). ความหมายและประเภทของสิ่งพิมพ์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
การออกแบบทางการพิมพ์. (หน้า 14-16). นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
วรวิชญ เวชนุเคราะห์. (2531). กระแส’ 30. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
Denton, C. (1992). Graphic for visual communication. Dubuque, IA: Wm. C. Brown.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น